หากต้องการที่จะสร้าง Employer Branding ที่แข็งแรงให้เกิดขึ้นในองค์กร จำเป็นต้องคำนึงถึงการสร้างและพัฒนาแบรนด์ใน 2 มุม มากกว่าที่จะเลือกพัฒนาด้านใดด้านหนึ่ง
มุมที่ 1: Employer Brandingที่ภายนอกมองเข้ามา
มุมที่ 1 นี้มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการแสดงภาพลักษณ์องค์กรให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ กับองค์กรได้เล็งเห็นถึงอัตลักษณ์ขององค์กร เล็งเห็นและรับรู้ได้ถึงหัวใจและจิตวิญญาณของแบรนด์ นอกจากนี้ความสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ ด้านการสรรหา หากอยากดึงดูดกลุ่มคนที่เป็นคนเก่ง (Talent) ให้เข้ามาทำงานในองค์กร การพัฒนา Employer Branding ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ไม่สามารถละเลยได้
Tips Employer Branding เพื่อการสรรหา
ในหลาย ๆ องค์กร เมื่อพูดถึงการทำ Employer Branding เพื่อการสรรหา มักจะพุ่งเป้าไปที่ภาพลักษณ์ที่นำเสนอออกไป เช่น เว็บไซต์ขององค์กร หรือ สื่อต่าง ๆ ที่จะนำเสนอตัวตนขององค์กรแบบที่ต้องการให้ผู้สมัครที่เป็น Talent เห็นให้ได้มากที่สุด ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่ยังไม่ครอบคลุมในการพัฒนา Employer Branding เนื่องจาก ผู้สมัครที่ใช่ ไม่ได้เป็นเพียงผู้สมัครที่มีทักษะหรือความสามารถตรงกับงานที่องค์กรต้องการ แต่ผู้สมัครที่ใช่ จำเป็นที่จะต้องมีทักษะ และสามารถเข้ากับวัฒนธรรมที่แท้จริงขององค์กรได้
เหตุการณ์ที่มักเกิดขึ้นบ่อยครั้งของการใช้ Employer Branding ในการสรรหาที่กลายเป็นจุดสร้าง Turn Over ที่สูงขึ้นในองค์กร คือ การสร้าง Employer Branding เพื่อการสรรหา ที่แตกต่างจากความเป็นตัวตนที่เป็นอยู่ที่แท้จริง ดังนั้น การเข้าใจความเป็นตัวตนและการพร้อมที่จะพัฒนาความเป็นตัวตนขององค์กรให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงไปของการแข่งขันจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่สามารถละเลยได้ในการทำ Employer Branding
มุมที่ 2: Employer Branding จากภายใน
มุมที่ 2 คือการสร้าง Brand Ambassador ให้เกิดขึ้นจากสมาชิกขององค์กรเอง ในมุมนี้องค์กรจำเป็นต้องมีการสื่อสารและการสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้พนักงานสามารถเรียนรู้และจดจำความเป็นตัวตนของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี หลาย ๆ องค์กรมักจะเข้าใจผิดว่าการสื่อสาร คือ การส่งข้อมูลให้กับพนักงานบ่อย ๆ เพื่อให้พนักงานได้เห็นและจดจำ หรือการจัดให้มีการประชุมเพื่อแจ้งเพื่อทราบ แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น บริษัทที่ประสบความสำเร็จในการสร้าง Employer Branding จากภายในนั้น ให้ความสำคัญกับรายละเอียดของ Employer Experience ของพนักงาน เนื่องจาก Employee Experience ที่ดี จะทำให้พนักงานสามารถบอกเล่าเรื่องราวและส่งต่อความรู้สึกที่พวกเขามีต่อองค์กรได้เป็นอย่างดี
เริ่มต้นสร้างหรือทบทวน Employer Branding ขององค์กรของคุณเองสามารถที่จะเริ่มจากการคิดถึง 3 สิ่งนี้ ตาม KEEN Employer Branding
KEEN “Workplace” Identity – อะไรคือสิ่งที่พนักงาน หรือ ใครก็ตามที่ต้องการเข้ามาทำงานที่องค์กรของคุณจะได้รับจากการเข้ามาทำงานในองค์กรของคุณ
KEEN “Character” Identity – หลังจากที่พวกเขาเหล่านั้นได้เข้ามาแล้ว เขาจะกลายเป็นแบบไหน
และสุดท้าย KEEN “Mission” Identity – เมื่อพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรแล้ว เข้าสามารถที่จะรับรู้ เรียนรู้ และปฎิบัติเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้ และที่สำคัญที่สุดองค์กรเองก็เป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของพวกเขาเช่นกัน
เมื่อคุณได้ 3 แกนหลักนี้แล้ว เพื่อสร้าง Moment of Truth ที่ดีที่สุด ลองหาคำจำกัดความของ 3 แกนนี้เพียงหนึ่งคำที่จะสามารถนำมาสร้างเป็น Ultimate Experience (ประสบการณ์ที่ดีที่สุด) ที่พนักงานคนหนึ่งจะได้รับจากองค์กรของคุณ และนำ Ultimate Experience นี้ เชื่อมโยงเข้ากับ Employee Experience ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของพนักงานคนหนึ่งที่ตัดสินใจเลือกเข้ามาสมัครงานที่องค์กรของคุณ เรียนรู้และเติบโตในองค์กร และสุดท้ายวันที่เขาเลือกที่จะมีเส้นทางใหม่ของเขาเอง คุณจะได้แผนในการสร้าง Employee Branding แบบที่เชื่อมโยงกับ Employee Experience และที่สำคัญแผนนี้สามารถนำไปพัฒนาและปรับปรุง Employee Engagement ในองค์กรของคุณได้อีกด้วย